เมนู

ทราบว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร อนึ่ง ดิฉัน
มีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง
ดิฉันไปไม่ได้ ข้าแด่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าได้โปรดส่งหญิงแพศยา
นั้นไปให้สำเร็จประโยชน์ด้วย เถิด ขอรับ
ลำดับนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงแพศยานั้น ครั้นแล้วได้
ถามหญิงแพศยานั้นดังนี้ว่า ทำไมเธอจึงไม่ไปหาคนเหล่านี้เล่า
หญิงแพศยานั้นตอบว่า ดิฉัน ไม่ทราบว่า คนเหล่านั้นเป็นใคร หรือ
เป็นพรรคพวกของใคร อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งตัวมาก มีเครื่องประดับ
เรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง ดิฉันไปไม่ได้ เจ้าค่ะ
อุ. จงไปหาคนเหล่านี้เถิด คนเหล่านั้นฉันรู้จัก
ญ. ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันจะไป เจ้าค่ะ
ครั้งนั้น นักเลงหญิงเหล่านั้น ได้พาหญิงแพศยานั้นไปเที่ยวสวน
จึงอุบาสกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านอุทายีจึงได้ถึงความ
เป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้น
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความ
ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉน ท่าฬพระอุทายีจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่ง
เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึง
อยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่ง จริงหรือ

ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ
กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วม
ชั่วขณะหนึ่งเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็น
ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น
อย่างอื่นของตนบางที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ


9.5. ก. อนึ่ง ภิกษุใดลงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์
ของบุรุษแก่สตรีก็ดี บอกความประสงค์ของสตรีแก่บุรุษก็ดี ในความ
เป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ก็ตาม โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยา
อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องนักเลงหญิง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[427] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกขุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า